Universal Testing Machine (Instron 5965)
Specfication
-Instron Model 5965 -Dual Column Table Frames -5 KN Max Capacity -Available for Tension, Compression, Flexure (3 point bend) test -Pneumatic grip is available -Advanced video extensometer (AVE) is available -Dell Precision Tower 5810 Computer -Bluehill V3.73.4823 Software -หมายเลขครุภัณฑ์ 3416-008-016

Introduction
Universal Testing Machine ( UTM ) เป็นเครื่องทดสอบสมบัติเชิงกล ( Mechanical test ) ซึ่งจัดเป็นการทดสอบแบบทำลาย นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในงานด้านวัสดุศาสตร์ คนทั่วไปมักเรียกเครื่องมือนี้แบบติดปากว่า เครื่อง Tensile ตามลักษณะการทดสอบแบบดึงยืดชิ้นงาน ( Tensile test, Tension method ) ในความเป็นจริงแล้วเครื่องมือนี้มีความสามารถมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบการทนทานต่อการฉีกขาด ( Tear test ) การทดสอบความแข็งแรงของรอยเชื่อมหรือกาว ( Seal strength, Peel test ) การทดสอบแบบกดอัดชิ้นงาน ( Compression test ) การทดสอบการดัดโค้งชิ้นงาน ( Flexural test, 3 point bending test ) การทดสอบชิ้นงานวัสดุต่างๆ ได้แก่ พลาสติก ( Plastic, Polymer ) คอมโพสิต ( Composite ) ยาง ( Rubber ) เส้นใย ( Fiber ) และอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ส่วนควบของเครื่องมือนั้นรองรับหรือไม่ ได้แก่ ขนาดของตัวเครื่องและโหลดเซลล์ หัวจับหรือแท่นวางชิ้นงานทดสอบ เป็นต้น หลักการทำงานของเครื่องมือนี้คือ การเก็บข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างการวัดแรงต้านในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัสดุโดยอาศัยอุปกรณ์วัดแรงหรือโหลดเซลล์ ( Load cell ) และการวัดระยะที่เปลี่ยนแปลงไปของชิ้นงานโดยอาศัยอุปกรณ์วัดระยะ ได้แก่ Extension of Crosshead, Extensometer เป็นต้น เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาสร้างกราฟจะได้กราฟความสัมพันธ์ระหว่างแรง ( Load ) และระยะที่เปลี่ยนแปลงไป ( Extension, Elongation, Deformation ) และหากนำขนาดหรือมิติของชิ้นงานทดสอบมาคำนวณด้วยก็จะได้กราฟความสัมพันธ์ระหว่าง Stress และ Strain ทำให้ได้สมบัติเชิงกลต่างๆของชิ้นงานทดสอบนั้น เช่น ความแข็งแกร่งของวัสดุ ( Modulus ) ความแข็งแรงของวัสดุ ( Strength ) ความสามารถในการยืดของวัสดุ ( Elongation ) เป็นต้น สภาวะการทดสอบมักนิยมอ้างอิงกับมาตรฐานสากล ได้แก่ American Society for Testing and Materials หรือ ASTM International ( ASTM ), International Organization for Standardization ( ISO ) เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น ASTM D412, ASTM D638,ASTM D882, ASTM D695, ASTM D790 เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะกล่าวถึงข้อกำหนดต่างๆ ได้แก่ ขนาดชิ้นงาน จำนวนชิ้นงาน ความเร็วในการทดสอบ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ วิธีการทดสอบ ผลการทดสอบ ตลอดจนข้อจำกัดหรือข้อแนะนำอื่นๆ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบผลการทดสอบ อย่างไรก็ตามผู้ใช้ก็สามารถกำหนดสภาวะการทดสอบเองได้เช่นกัน ศูนย์ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน) ให้บริการ รับวิเคราะห์ รับทดสอบสมบัติเชิงกลของตัวอย่างชิ้นงาน รองรับด้านงานวิจัย โดยเน้น วัสดุประเภท พลาสติก พอลิเมอร์ ยาง วัสดุคอมพอสิต และอื่นๆ อัตราค่าบริการใช้เครื่องวัดสมบัติแรงดึง (Universal Testing Machine) ยี่ห้อ Instron รุ่น 5965 1. ค่าบริการเครื่องมือ โดยผู้ใช้บริการทำเอง 1.1 ไม่เกิน 3 ชั่วโมง บุคลากรหรือหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยนเรศวรไม่เกิน 1,200 บาท บุคคลหรือหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยนเรศวร - บาท 1.2 ไม่เกิน 6 ชั่วโมง บุคลากรหรือหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยนเรศวรไม่เกิน 2,100 บาท บุคคลหรือหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยนเรศวร - บาท 2. ค่าบริการเครื่องมือ โดยเจ้าหน้าที่ทำให้ 2.1 ตัวอย่างที่ใช้เวลาทดสอบไม่เกิน 20 นาที/ตัวอย่าง 2.1.1 คิดเป็นตัวอย่าง (ไม่เกิน 5 ซ้ำ/ตัวอย่าง) บุคลากรหรือหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยนเรศวรตัวอย่างละไม่เกิน 200 บาท บุคคลหรือหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยนเรศวรตัวอย่างละ 300 บาท 2.1.2 กรณีทดสอบเกิน 5 ซ้ำ/ตัวอย่าง บุคลากรหรือหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยนเรศวรคิดเพิ่มซ้ำละไม่เกิน 40 บาท บุคคลหรือหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยนเรศวรคิดเพิ่มซ้ำละ 60 บาท 2.2 ตัวอย่างที่ใช้เวลาทดสอบเกิน 20 นาที/ตัวอย่าง (คิดตามช่วงเวลา กำหนดให้ 20 นาที/ช่วงเวลา) บุคลากรหรือหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยนเรศวรคิดเพิ่มช่วงเวลาละไม่เกิน 200 บาท บุคคลหรือหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยนเรศวรคิดเพิ่มช่วงเวลาละ 300 บาท หมายเหตุ : 1. เครื่องมือสามารถทดสอบสมบัติเชิงกลของวัสดุ ได้แก่ การดึงยืด (Tensile test) การกดอัด (Compress test) และการดัดโค้ง (Flexural test) เป็นต้น โหลดเซลล์มี 3 ขนาด ได้แก่ 100 N (นิวตัน) 1 KN (กิโลนิวตัน) และสูงสุด 5 KN (กิโลนิวตัน) 2. กรณีผู้ใช้บริการทำเอง คิดเวลาตั้งแต่เริ่มใช้งานเครื่อง และสิ้นสุดการประมวลผลข้อมูล (ช่วงเวลาให้บริการ 9.00 - 12.00 น. และ 13.00 – 16.00 น.) และผู้ใช้บริการต้องผ่านการอบรมการใช้เครื่องมือจากศูนย์ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ก่อน 3. กรณีให้เจ้าหน้าที่ทำการทดสอบให้ ผู้ใช้บริการต้องเตรียมตัวอย่างที่พร้อมสำหรับการทดสอบมาเอง ต้องระบุสภาวะทดสอบ และส่งตัวอย่างล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ 4. กรณีเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกการจองเครื่องมือ ผู้ใช้บริการต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ 5. ผู้ใช้บริการต้องนำ CD/DVD มาบันทึกไฟล์ข้อมูลทุกครั้งเมื่อทำการทดสอบเสร็จสิ้น ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบอัตราค่าบริการได้จาก ประกาศมหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง กำหนดอัตราค่าบริการทางวิชาการของศูนย์ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งอยู่หน้าเวปไซต์ของศูนย์ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ หรือเข้า URL https://www.sci.nu.ac.th/slcs/index2.php?content_ID=3


ผู้ควบคุม
Mr. Suchart Supattanapalapol
นักวิทยาศาสตร์
ย้อนกลับ