ผลทางเซลล์วิทยาของอะลูมิเนียมในข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 (Oryza sativa L. cv. Suphanburi 1)
Abstract
จากการศึกษาผลของอะลูมิเนียมที่พืชได้รับในรูปของสารละลาย AlCl3 ความเข้มข้น 50,100 และ 150 μM ที่มีค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 4.5 ในข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี1 เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม 2 กลุ่ม โดยใช้ค่าตัวแปรทางเซลล์วิทยา 2 ตัวแปร ได้แก่ Index of metaphase (I-meta) และค่าความผิดปกติของนิวเคลียสและโครโมโซมใน 1000 เซลล์เป็นตัวชี้วัดความเป็นพิษของอะลูมิเนียมพบว่าระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง และระหว่างกลุ่มทดลองที่มีความเข้มข้นของสารละลายอะลูมิเนียมไม่เท่ากันมีอัตราการแบ่งเซลล์(I-meta)ไม่แตกต่างกันในทางสถิติ (P>0.05) อย่างไรก็ตามในาพรวมพบว่าเมื่อความเข้มข้นของสารละลายอะลูมิเนียมสูงขึ้นจะมีผลให้ค่า I-meta ในปลายรากมีค่าลดลง โดยกลุ่มทดลองที่ความเข้มข้นของสารละลายอะลูมิเนียม 150 μM มีค่า I-meta ต่ำที่สุดเท่ากับ3.18% ส่วนในกลุ่มควบคุมที่1 (pH 7.0) และ กลุ่มควบคุมที่ 2 (pH 4.5) มีค่าเท่ากับ 3.75% และ 3.39%ตามลำดับ ส่วนค่าความผิดปกติของนิวเคลียสและโครโมโซมใน 1000 เซลล์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อความเข้มข้นของสารละลายอะลูมิเนียมเพิ่มมากขึ้น โดยในกลุ่มทดลองที่ได้รับสารละลายอะลูมิเนียม150 μM พบความผิดปกติได้สูงสุดเท่ากับ 3.98 ในการทดลองครั้งนี้พบความผิดปกติของโครโมโซมรูปแบบต่างๆ ได้แก่ chromosome bridge, chromosome fragment, laggard chromosome, disturbedchromosome และ micronucleus
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.